คำถามที่พบบ่อย

รวบรวมคำถามที่ถูกถามบ่อยๆ

คำถามที่พบบ่อย

นักลงทุนไม่ควรจะถือ DW ไปจนครบกำหนดอายุเนื่องจาก

  • ในกรณี In the Money เงินสดส่วนต่างจะถูกหักภาษีเงินได้ฯ แต่การขายคืนเพื่อทำกำไรบนกระดานจะได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนการซื้อ-ขายหุ้น
  • ในกรณี Out the Money ราคา DW จะหมดมูลค่า
  • ไม่ใช่ เนื่องจากโดยปกติ ราคา Call (Put) จะเพิ่มขึ้น เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเพิ่มขึ้น (ลดลง)
  • กำไร/ขาดทุน ของนักลงทุนจะขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ราคาหุ้นอ้างอิง โดยเทียบกับ ราคาตลาด ณ ปัจจุบัน ไม่ใช่เทียบกับราคาใช้สิทธิ

Win – Win Situation

  • ในสถานการณ์ดังกล่าวนักลงทุนที่ลงทุนใน KBAN06C2112A จะมีกำไร/ขาดทุนขึ้นอยู่กับทิศทางของราคาหุ้นอ้างอิง และจากผลของอัตราทด กำไร/ขาดทุนที่ได้จะมากกว่าการลงทุนโดยตรงในหุ้น KBANK
  • ขณะที่ผู้ออก DW มีผลกำไร/ขาดทุนจากมูลค่า Time decay และส่วนต่างราคาของหุ้นที่ซื้อมาเพื่อป้องกันความเสี่ยงกับส่วนต่างราคาของ DW ที่ขายให้นักลงทุน ดังนั้นการเทรด Derivative Warrant จึงไม่ใช่ “Zero-Sum Game” ดังที่เข้าใจเสมอไป
  • การจำกัดขาดทุน หมายความว่า นักลงทุนใน DW จะไม่มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นหากราคา DTAC ลดลงต่ำกว่าราคาใช้สิทธิ ณ วันหมดอายุ ในขณะที่นักลงทุนที่ลงทุนโดยตรงบนหุ้น DTAC จะมีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นตามราคาหุ้นที่ลดลง
  • อย่างไรก็ตาม การจำกัดขาดทุนนั้นจะจำกัดที่ราคา DW ที่นักลงทุนจ่ายไปในตอนแรกทั้งหมด ซึ่งก็อาจหมายถึงเงินลงทุนทั้งหมดนั่นเอง
  • ดังนั้น นักลงทุนต้องมีวินัยในการลงทุนที่ดี โดยจะต้อง กำหนดจุดตัดขาดทุน (Price Stop Loss) และระยะเวลาที่ตัด ขาดทุน (Time Stop Loss) 

ไม่ใช่ เนื่องจาก DW ที่มีอายุคงเหลือต่างกันมากๆ จะไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้โดยใช้วิธีนี้


จากตัวอย่าง KBAN06C2XXXA มีความน่าสนใจมากกว่า KBAN99C2XXXZ เนื่องจาก มี Effective Gearing ที่สูงกว่าแต่มี Time Decay ที่เท่ากัน การเปรียบเทียบราคาแปลงของ DW กับราคาตลาดของหุ้นอ้างอิง ( All in Premium) ไม่เหมาะกับการ พิจารณาความถูกหรือแพงสำหรับตราสารที่เน้นการลงทุนระยะสั้นๆ อย่าง DW นักลงทุนควรพิจารณา Effective Gearing เทียบกับ Time Decay 

  • ไม่ใช่ หากนักลงทุนไม่ได้ถือ DW ไปจนครบกำหนดอายุ  กำไร/ขาดทุนของนักลงทุน จะขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ราคาเป้าหมายของหุ้นอ้างอิงและระยะเวลาเวลาการลงทุน
  • ข้อดีของ DW ที่ Out the Money คือมี Effective Gearing ที่ค่อนข้างสูงและใช้เงินลงทุนน้อยกว่า DW ที่ In the Money ที่มีหุ้นอ้างอิงและอายุคงเหลือเท่ากัน
  • ข้อเสีย คือ ราคา DW จะเปลี่ยนแปลงช้ากว่าเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนของราคาหุ้นอ้างอิงและมี Time Decay ต่อวันที่สูงกว่า ดังนั้น นักลงทุนจึงควรระมัดระวังในการลงทุนโดยเฉพาะในกรณี DW ที่ Out the Money มากๆ และใกล้ครบกำหนดอายุ
  • ไม่จริง สำหรับ DW ที่มีสถานะ In the Money มากๆ เพราะ ราคาของ DW จะมีความไวต่อการเปลี่ยนของหุ้นอ้างอิงและ Effective Gearing ที่สูงในขณะที่ Time Decayต่อวัน ค่อนข้างต่ำ
  • แต่เป็นความจริงสำหรับ DW ที่ Out the Money เนื่องจาก ความไวต่อการเปลี่ยนของหุ้นอ้างอิงจะค่อนข้างต่ำและมี Time Decay ต่อวันที่สูงกว่า
  • DW แต่ละรุ่นจะมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นอ้างอิง (Delta) ที่ต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับ สถานะ (In/Out the Money) และอายุคงเหลือ ของ DW รุ่นนั้นๆ
  • โดยปกติแล้ว DW ที่ In the Money จะมีค่า Delta ที่สูงกว่า DW ที่ Out the Money
  • เมื่ออายุคงเหลือน้อยลง ในกรณี In the Money ค่า Delta จะสูงขึ้น ส่วนในกรณี Out the Money ค่า Delta จะลดลง

ตัวอย่าง 

  • BANP06C2110A มีสถานะ Out the Money (22.5%) และ BANP06C2112A มีสถานะ In the Money (18.5%) DW ทั้ง 2 มีอายุคงเหลือเพียง 13 วัน
  • หากราคาหุ้น BANPU ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 506 บาท (+1.6%) ภายในระหว่างวัน ราคา BANP06C2110A จะเพิ่มขึ้นเพียง 1 ช่วงราคาเป็น 0.04 บาทแต่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 33% แต่ในขณะที่ราคา BANP06C2112A จะอยู่ที่ 1.13 บาท หรือ +9.7%
  • จากตัวอย่างจะพบว่า หากนักลงทุนคาดการณ์ราคาหุ้น BANPU ได้ถูกต้องก็จะสามารถทำกำไรจาก DW ที่แม้ว่าจะ Out the Money ได้ อย่างไรก็ตามโอกาสที่จะคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำเช่นนี้มีค่อนข้างจำกัด นักลงทุนจึงควรระมัดระวังการลงทุนใน DW ที่ Out the Money และใกล้หมดอายุ

โดยทั่วไป ราคา Bid-Offer ของ DW จะอ้างอิงกับราคา Bid-Offer ของหุ้นแม่เสมอ
ราคา Last คือราคาล่าสุดที่มีการซื้อ-ขายกันจริงแต่เนื่องจาก DW ไม่ได้มีการซื้อขายกันตลอดเวลาเหมือนหุ้นแม่ ทำให้ในบางกรณีราคา Bid Offer ของหุ้นแม่ได้เปลี่ยนไปแล้วแต่ราคา Last ของ DW ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ดังนั้นนักลงทุนไม่ควรใช้ราคา Last ของหุ้นแม่กับราคา Last ของ DW เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ แต่ต้องใช้ราคา Bid-Offer 


ตัวอย่าง

KBAN06C2112A มี Effective Gearing = 3.2x และ %Time Decay = 0.20% / วัน

% Expected P/L ≈ (Effective Gearing* %Change) – (Holding Period*%Time Decay)

= (3.2*-0.3%) – (2*0.20%) ≈ -1.61%

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าราคา Bid-Offer ของหุ้น KBANK เมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่นักลงทุนขายคืน KBAN062112A ได้ปรับตัวลดลง 1 ช่องราคาจากราคาที่ซื้อไปในตอนแรก (จาก 163.5-164 ลดลงเป็น 163-163.5) แต่เนื่องจากหุ้น KBANK ได้ปรับตัวลดลงในวันที่ 12 ก.ค. ในขณะที่ KBAN062112A ไม่มีการซื้อขาย ทำให้ในวันที่ 13 ก.ค. บนกระดานซื้อขายฯจะแสดงว่าราคา KBAN062112A ปรับตัวลดลงในขณะที่ราคาหุ้น KBANK ปรับตัวเพิ่มขึ้น 

  • ไม่ใช่ เนื่องจาก Market Maker จะทำหน้าที่ส่งคำสั่งเสนอซื้อ-ขายเพื่อให้นักลงทุนสามารถทำการซื้อขายได้ตลอดเวลา เมื่อราคาหุ้นอ้างอิงเปลี่ยนแปลงไป Market Maker ก็จะทำการเปลี่ยนแปลงราคาเสนอซื้อ-ขาย DW ให้สอดคล้องกับราคาหุ้นอ้างอิง